วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ใบส้มแขก

ส้มแขก เป็นสมุนไพรที่ตลาดมีความต้องการสูง ทั้งตลาดภายในประทศและส่งออกนอกประเทศ ราคาผลผลิตส้มแขกคุณภาพดีที่ เกษตรกรจำหน่ายได้

ความสำคัญของส้มแขก
ส้มแขก เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีความสำคัญ ดังนี้
1. ด้านอาหาร ผู้บริโภคนิยมนำส้มแขกนำมาปรุงรสแทนผลของมะขามหรือมะนาว มานานปีแล้ว และปัจจุบันความนินมในการนำส้มแขกมาปรุงรสอาหารก็เพิ่มเรื่อยๆ
2. ด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ปัจจุบันมีผู้ประกอบการนำผลส้มแขกมาทำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เป็นผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับความอ้วนหรือการสะสมของไขมันส่วนเกิน ทำให้ผู้ ประกอบการหลายรายได้ผลิตผลิตภัณฑ์ส้มแขกออกมาในหลายรูปแบบ ได้แก่ เครื่องดื่มส้มแขกผงสำเร็จรูป เครื่องดื่มส้มแขกชนิดชง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารส้มแขก ยาระบายส้มแขก เป็นต้นสมุนไพรชนิดนี้ จึงเป็นผลิตภัณฑ์ ธรรมชาติเพื่อสุขภาพอีกชนิดหนึ่งที่มีแนวโน้มศักยภาพที่น่าสนใจและน่าลงทุน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ส้มแขก เป็นไม้ยืนต้น จัดอยู่ในวงศ์ Guttiferae มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น ส้มมะวน ส้มพะงุน ( ปัตตานี ) ส้มมะอ้น (ใต้) ส้มควาย (ตรัง) ไม้ในวงศ์นี้มีอยู่ประมาณ 320 ชนิด พบในเขตร้อนเอเซีย อเมริกา และอัฟริกา ไม้ที่อยู่ในพวกเดียวกัน ได้ พะวา หรือกะวา (G.cornia) ชะมวง (G.cowa ) มังคุด (G. mangostana ) ชะมวงน้ำหรือมะพูดป่า (G.mervosa ) มะดัน (G.schomburgkiana) มะพูด (G.vilersiana )

ลักษณะลำต้น
ส้มแขก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 5 – 7 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมดำคล้ายต้นชะมวง เมื่อลำต้นเป็นแผลจะมียางสีเหลืองออกมา เนื้อไม้แข็งลักษณะใบ ใบส้มแขกเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ แผ่นใบเรียง ใบอ่อนสีน้ำตาลอมแดง ใบแคบค่อนข้างยาว ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลมมากมองเห็นได้ชัดเจน ใบยาวประมาณ 10 – 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร ใบแห้งมี สีน้ำตาล

ลักษณะดอก
ดอกส้มแขกเพศผู้ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ด้านนอกสีเขียว ด้านในสีแดง ก้านดอกยาวประมาณ 0.5 – 1.7 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้เรียงเป็นวงอยู่บนฐานรองดอก ดอกเพศเมีย เป็นดอกเดี่ยว แทงออกมาจากปลายกิ่ง มี ขนาดเล็กกว่าดอกตัวผู้ รังไข่รูปทรงกระบอก

ลักษณะผล
ผลส้มแขกเป็นผลเดี่ยว ผลแก่มีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลือง ผลมีขนาด กว้างประมาณ 6 – 7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร ขั้วผลยาวประมาณ 2 เซนติเมตร มีรกอยู่ตรงกลาง มีเมล็ด 11 – 12 เมล็ด เปลือกผลเป็นร่องตามแนวขั้วไปยังปลายผล มื 8 – 10 ร่อง ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ 2 ชั้นๆละ 4 กลีบ ทั้งสองชั้นเรียงสลับกัน เมล็ดแข็งมีเมล็ดสมบูรณ์ 2 – 3 เมล็ดต่อผล ภายในเมล็ดมีใบเลี้ยงอวบหนา เนื่องจากมีอาหารสะสมอยู่มาก

แหล่งกำเนิด
ส้มแขก เป็นพืชในสกุล Garcinia สำหรับส้มแขกที่มีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่จำหน่ายตามท้องตลาดในขณะนี้ มีแหล่งอยู่ 2 แห่ง คือ
1. อินเดีย ส้มแขกที่พบในอินเดียมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
“ Garcinia cambogia Desr. “ ที่ประเทศอินเดียใช้ผลส้มแขกเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยวในอาหาร
2. ไทย ส้มแขกที่พบในเมืองไทย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Garcinia atroviritis Griff “ ซึ่งพบได้ทางภาคใต้ของไทย ใช้ใส่แกงส้มแทนส้มมะนาวหรือส้มอื่นๆ ต้มเนื้อ ต้มปลา ใส่ในน้ำแกง ขนมจีน เพื่อให้ออกรสชาติเปรี้ยวเล็กน้อย ส้มแขกสามารถใช้แทนส้มทุกชนิดที่ต้องการให้อาหารมีรสเปรี้ยว


ประโยชน์
ส้มแขกเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวอินเดีย ใช้ในการปรุงอาหารเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว เป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่คนไทยทางภาคใต้ พม่า หรือชาวบ้านอินเดียใช้กันมานานแล้ว แต่เพิ่มความสนใจมากขึ้น เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบว่า สารสำคัญในส้มแขกที่เรียกว่า “ กรดไฮดรอกซี่ซิตริก “
(hydroxy Citric Acid) หรือที่เรียกว่า HCA มีบทบาทในการยับยั้งขบวนการบางอย่างที่ร่างกายใช้ในการสร้างไขมัน โดยปกติอาหารที่รับประทานที่มีแป้งมากๆ ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นไขมันส่วนเกินและเกิดความอ้วนขึ้น การศึกษาพบว่า HCA จะมีส่วนช่วยไม่ให้ร่างกายเปลี่ยนแป้งส่วนเกินนี้เป็นไขมัน จึงมีการนำเอาส้มแขกมาทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมช่วยลดความอ้วน


การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์ส้มแขก มี 2 วิธี คือ การขยายพันธุ์แบบใช้เพศ และการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1. การขยายพันธุ์แบบใช้เพศ
เป็นการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ในอดีตส้มแขกในประเทศไทยเป็นไม้ป่า ผลผลิตที่เก็บได้ส่วนใหญ่เก็บมาจากป่าธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันเริ่มมีการนำส้มแขกมาปลูกตามบริเวณบ้านพักอาศัย ใยสวนยางและบริเวณหัวไร่ปลายนากันมากขึ้น จึงมีสนใจผลิตกล้าส้มแขกกันแพร่หลาย การจะเตรียมต้นกล้าในปริมาณมาก มีความจำเป็นต้องวางแผนการเตรียมกล้าให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยมีหลักการปฏิบัติ ดังนี้

1.1 การเก็บผลและการแยกเมล็ดส้มแขกเพื่อใช้เพาะชำ
นำผลส้มแขกมาเฉือนเอาเนื้อผลออกเป็นชิ้น ระมัดระวังอย่าให้โดนเมล็ด เพราะการเฉือนผลโดยไม่ระมัดระวัง จะทำให้เมล็ดถูกตัดขาดไม่ สามารถนำไปเพาะชำได้ จากนั้นให้นำเมล็ดที่ได้ไปขยำทราย เพื่อให้เมือกและเยื่อหุ้มเมล็ดหลุดออกเป็นการชวยป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อราทำลายเมล็ดแล้วให้รีบนำเมล็ดไปเพาะชำทันที
1.2 การเตรียมแปลงเพาะ
แปลงเพาะที่ใช้เพาะเมล็ดส้มแขก โดยทั่วไปจะทำเป็นแปลงดินยกระดับ สูงจากพื้นดินประมาณ 10 เซนติเมตร ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 – 4 เมตร หรือเพาะในกะบะเพาะที่ทำด้วยอิฐบล็อคบรรจุทรายหยาบ โดยมีข้อควรระวัง ในการเตรียมแปลงเพาะ คือ อย่าให้มีน้ำท่วมขัง เพราะจะทำให้เมล็ดเน่า และจะต้องเป็นจุดที่มีร่มเงาประมาณ 30 – 50 % เพราะถ้าหากที่โล่งแจ้งมากกว่านี้ ความร้อนจากแสงแดดจะทำให้เมล็ดตายนึ่งและจะไม่งอก

ไม่มีความคิดเห็น: