วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ระบบสารสนเทศของ OA

ระบบสารสนเทศของ OA แบ่งเป็น 4 ประเภท
1.ระบบการจัดการด้านเอกสาร(Document Management System: DMS)
•การประมวลผลคำ (Word Processing)
เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับช่วยในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น โดยมีจุดเด่นคือสามารถที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ตลอดเวลา โปรแกรมสำเร็จรูปประเภทประมวลคำมีหลายโปรแกรม ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น CU-Writer เวิร์ดราชวิถี Word perfect Word Star และไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft word) เป็นต้น โดยส่วนมากโปรแกรมประเภทนี้จะช่วยสร้างเอกสาร แก้ไข จัดรูปแบบ ขอบเขตของเอกสาร การบันทึกเอกสาร การคัดลอกหรือการย้ายข้อความเป็นบล็อก การค้นหาคำ การแทนที่คำ การตรวจสอบคำผิด และการทำจดหมายเวียน ไมโครซอฟต์เวิร์ด 97 ยังมีความสามารถพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น การตรวจคำและไวยากรณ์ การนับคำ และความสามารถในการเรียกข้อความขึ้นมาดูก่อนสั่งพิมพ์
•การประมวลภาพ (Image Processing)
เป็นระบบที่มีการประมวลผลโดยอาศัยรูปภาพ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างยิ่ง โดยการอาศัยอุปกรณ์ในการสแกนภาพเข้าไปในคอมพิวเตอร์โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) ต่อเชื่องกับเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องเลเซอร์ จากนั้นเข้าสู่โปรแกรมการสแกนภาพ ซึ่งโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ในการติดต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ หากอุปกรณ์ใดไม่พร้อมโปรแกรมจะแสดงข้อเตือน ภาพที่ถ่ายเข้าไม่สามารถที่จะปรับแต่ง ย่อ ขยาย หรือใส่ข้อความประกอบเข้าไป เช่น โปรแกรม Aldus PageMaker ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ การประมวลภาพ มักนิยมใช้ร่วมกับระบบบริการต่าง ๆ โดยผ่านเครือข่าย เฉพาะที่
•การจัดพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing)

สำนักงานในปัจจุบันนิยมใช้มาก เนื่องจากสามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องเฉพาะ เดสท์ทอป พับลิชชิ่งเป็นเทคโนโลยีพัฒนามาจากเวิร์ดโปรเซสซิง โดยเป็นการผสมระหว่างซอฟต์แวร์ทางด้านเวิร์ดโปรเซสซิง ที่มีความสลับซับซ้อนกับโปรแกรมด้านกราฟิก สามารถใช่แบบตัวอักษร (Font) ได้หลายภาพ หลายแบบ การใช้สี ภาพที่ได้จากการสแกนเนอร์รวมทั้งการใช้เครื่องพิมพ์เลเซอร์ ความละเอียดสูง ทำให้เอกสารภาพที่ได้มีความคมชัดเจน ละเอียด โดยทั่วไปหน่วยงานที่นำโปรแกรมเดสท์ทอป พับลิชชิ่งมาใช้กับการทำรายงาน วารสาร แผ่นพับ และเอกสารต่าง ๆ โดยสามารถเพิ่มความเร็วในการทำงาน และลดค่าใช้จ่ายทางด้านบุคลากรที่ขาดแคลน โปรแกรมประเภทนี้ที่นิยมใช้ได้แก่ PageMaker Corel draw Microsoft Power Point เป็นต้น ในส่วนของฮาร์ดแวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ควรจะมีหน่วยความจำตั้งแต่ 16 เมกกะไบต์ (MB)ขึ้นไป และควรจะมีความละเอียดบนจอภาพตั้งแต่ 800 x 600 จุด ขนาดของจอภาพ (Monitor)ตั้งแต่ 14” ขึ้นไป แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวโปรแกรมและความละเอียดของภาพ ขนาดของจอภาพ เป็นต้น
•การผลิตเอกสารหลายชุดหรือการทำสำเนา (Reprographics)

เป็นกระบวนการทำสำเนาเอกสารต่าง ๆ การทำสำเนารายงานจดหมาย และเอกสารอื่น ๆ เพื่อที่จะสามารถแจกจ่ายเอกสารให้กับผู้เกี่ยวข้อได้รวดเร็ว ในสมัยนี้การพิมพ์สำเนาเอกสารจำนวนมากนิยมใช้เครื่องระบบสำเนาอัจฉริยะ (Intelligent copier system) โดยเอาเครื่องนี้ต่อเขื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง หรือ ขนาดเล็ก และต่อเข้ากับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ วิธีการทำเอกสารจะถูกทำขึ้นที่เครื่องคอมพิวเตอร์ และส่งมายังเครื่องอัดสำเนา ซึ่งเครื่องอัดสำเนาจะพิมพ์สำเนาตามที่ผู้ใช้ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
•การเก็บรักษา (Archival Storage)

เป็นการเก็บรักษาข้อมูลในหน่วยความจำสำรอง เช่น เทปแม่เหล็ก ไมโครฟิลม์ (Microfilm) แผ่นจานแม่เหล็ก หรือแผ่น CD เป็นต้น โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลปริมาณและรูปแบบหลากหลายที่ องค์การจึงต้องเก็บรักษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ มิให้เกิดการสูญหาย ความล่าช้าในการใช้งาน การทำลายข้อมูลโดยไม่ตั้งใจ หรือการโจรกรรม ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจได้

2.ระบบการจัดการด้านข่าวสาร (Message Handling System: MHS)
•โทรสาร (Facsimile)
หมายถึงกรรมวิธีในการถอดแบบเอกสารหรือรูปภาพโดยทางคลื่นไฟฟ้า, เดิมใช้โทรภาพ; เอกสารซึ่งส่งหรือรับด้วยกรรมวิธีดังกล่าว
•E-mail ย่อมาจาก :Electronic Mailความหมาย : จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นข้อมูลที่มีการรับและส่ง โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านเครือข่ายของ การสื่อสาร
•Voice mail หมายถึง การส่งข้อความและเสียงในรูปแบบเมลเสียง

3.ระบบการประชุมทางไกล (Teleconferencing System:TS)
•การประชุมด้วยภาพและเสียง (Video Conferencing)
•การประชุมด้วยเสียง (Audio Conferencing)
•การประชุมด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer Conferencing)
•โทรทัศน์ภายใน (In-House Television)
•ระบบสื่อสารทางไกล (Telecommuting)


4. ระบบสนับสนุนสำนักงาน (Office Support System : OSS)
•คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (Computer Aided Design: CAD)
•การนำเสนอ (Presentation)
•กระดานข่าวสาร (Bulletin Board)
•โปรแกรมเครือข่ายกลุ่ม (Groupware)
•ระบบการจัดระเบียบงาน (Desktop Organizer)

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

องค์ประกอบของระบบสำนักงานอัตโนมัติ

องค์ประกอบของระบบสำนักงานอัตโนมัติแบ่งได้ 5 ประเภท

1. บุคลากร
อาจแบ่งได้หลายกลุ่ม เช่น ผู้บริหาร นักวิชาชีพ นักเทคนิค เลขานุการ เสมียน และพนักงาน อื่นๆ


2. กระบวนการปฏิบัติงาน
2.1 การรับเอกสารและข้อมูล
2.2 การบันทึกเอกสารและข้อมูล
2.3 การสื่อสารเอกสารและข้อมูล
2.4 การจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารต่างๆ
2.5 การกระจายข่าวสาร
2.6 การขยายรูปแบบเอกสาร
2.7 การค้นคืนและการจัดเก็บเอกสารข้อมูล
2.8 การกำจัด และการทำลายเอกสาร
2.9 การดูแลความมั่นคงปลอดภัย

3. เอกสาร ข้อมูล สารสนเทศระบบสารสนเทศ
สร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน

4. เทคโนโลยีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ
คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมหรือ Computer and Communications ที่นิยมเรียกย่อ ๆ ว่า C&C

5. การบริหารจัดการเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ
คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโน"กระบวนการในการวางแผน ดำเนินการ และควบคุมประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บสินค้า บริการ และสารสนเทศจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการใช้งาน โดยมีเป้าหมายที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค

วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ระบบสำนักงานอัตโนมัติ


1. ความหมายของสำนักงานอัตโนมัติสำนักงานอัตโนมัติ หมายถึง วิธีการนำคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงานมาเชื่อมโยงด้วยกันด้วยระบบสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในสำงานสามารถทำงานด้วยกันได้อย่างรวดเร็ว และสะดวก สบาย ทั้งในด้านการผลิต และการเรียกค้นเอกสาร การประมวลผลข้อมูล การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานทังภายในและภายนอกสำนักงาน การจัดงานนัดหมาย การประชุมและการตัดสินใจ

2. ความสำคัญของสำนักงานอัตโนมัติสำนักงานอัตโนมัติส่วนใหญ่แล้วเป็นเรื่องของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในสำนักงานความหมายกับงานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
2.1. ความสำคัญของการวางแผนสำนักงานการวางแผนในที่นี้ความหมายกว้างขวางมาก หากเป็นสำนักงานใหญ่ที่ยังไม่เคยจัดตั้งขึ้นมาก่อน การวางแผนจะต้องพิจารณาองค์ประกอบและกิกรรมทุกอย่างของสำนักงาน โดยอาจพิจารณาเริ่มจากการกำหนดวิธีการปฏิบัติต่อแกสารและข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่สำนักงานจะต้องรับและส่ง ต้องคาดคะเนปริมาณเอกสารและข้อมูลเพื่อให้สารมารถจัดกำลังพนักงานที่จะทำงานกับเอกสารได้อย่างเพียงพอ จากนั้นจะต้องพิจารณากระแสงานภายในสำนักงานให้ชัดเจนว่าเอกสารและข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ได้รับมาจะต้องไหลวนไปตามจุดปฏิบัติงานต่าง ๆ นั้นจะต้องผ่านขั้นตอนการอะไร มีกรรมวิธีอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องบ้างมีการประมวลผลอะไรบ้างจะจัดจักทำเอกสารอย่างไร จะต้อเก็บเอกสารอะไรไว้ในแฟ้มบ้าง งานเหล่านี้จะต้องใช้กำลังพลเท่าใด และสมควรจัดสำงานให้พนักงานและผู้บริหารมีสัดส่วนสำหรับตั้งโต๊ะทำงานและนั่งทำงานกับอย่างไร กล่าวโดยสรุป การวางแผนสำนักงานจะต้องเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์งานต่าง ๆ ภายในสำนักงานว่าจะต้องมีกิจกรรมอะไรบ้าง ใช้เอกสารหรือข้อมูลอะไร และมีกระแสงานอย่างไรจากนั้นจึงกำหนดกิจกรรมและการทำงานต่าง ๆ ตามข้อมูลที่มีอยู่ การวางแผนสำนักงานที่เหมาะสมนั้นควรประกอบไปด้วย
2.1.1 การวางแผนการจัดสถานที่และสภาพแวดล้อม เช่น การจัดตำแหน่งโต๊ะทำงานและเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ
2.1.2 การวางแผนขั้นตอนการปฏิบัติงานและการรับส่งและการจัดทำเอกสาร

2.1.3 การวางแผนเกี่ยวกับกระแสงาน
2.1.4 การวางแผนการจัดหาบุคลากรตลอกจนการพัฒนาบุคลากรสำนักงาน
2.1.5 การวางแผนการรักษาความปลอดภัยของเอกสาร ข้อมูล ทรัพย์สิน และพนักงานในสำนักงาน
2.1.6 การวางแผนการติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกด้วนระบบโทรศัพท์และโทรสาร
การวางแผน เป็นเรื่องที่ยุ่งยากพอสมควรมีเอกสารหลักฐาน และข้อมูลที่นำมาใช้ในการวางแผนเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ในสำนักงาน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องโทรสาร เป็นต้น
2.2. ความสำคัญของการจัดสายงานในที่นี้หมายถึง การจักสายงานและจัดพนักงานเข้าทำงานในสำนักงาน
2.2.1 งานวิชาชีพ กลุ่มที่หนึ่ง คือ กลุ่มงานวิชีพหมายถึง กลุ่มที่ทำงานตาง ๆ เช่น การทำบัญชีหรือการตรวจสอบบัญชีซึ่งจัดว่าเป็นวิชาชีพสำคัญ งานเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และงานวิชาชีพอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับหน่วยงาน เช่น สถาปนิก หรือ วิศวกร โดยปกตอแล้วผู้ที่เป็นหัวหน้าสำนักงานหรือผู้ได้รับมอบหมายให้บริการสำนักงานอาจจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกำหนดสายงานของบุคลากรกลุ่มนี้ แต่ก็ต้องสามารถวางแผนหรือจัดหาพื้นที่ให้บุคลากรกลุ่มนี้ทำงานได้ตามความจำเป็นทางด้านวิชาชีพ
2.2.2 งานสายสนับสนุน กลุ่มที่สองคือ กลุ่มงานสายสนับสนุน อื่น ๆ ที่ไม่ใช่งานวิชาชีพ เช่น ช่างหรือนักเทคนิคด้านต่าง ๆ พนักงานขายสินค้า ฯลฯ พนักงานในสายนี้ก็ไม่จำเป็นที่หัวหน้าสำนักงานหรือผู้บริหารสำนักงานจะต้องจัดสายงานด้วยเช่นกัน
2.2.3 งานสายสำนักงาน กลุ่มที่สาม คือ กลุ่มงานสายสำนักงาน อันประกอบด้วยเลขานุการเสมือนเจ้าหน้าที่สารบรรณพนักงานเดินสาย ความจริงพนักงานกลุ่มนี้ก็คือสายสนับสนุนนั่นเองแต่ที่แยกมาต่างหากเพราะหัวหน้าสำนักงาน หรือผู้บริหารสำนักงานอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกำหนดตำแหน่งและจำนวนของบุคคลากร เมื่อได้กำหนดสายงานและตำแหน่งแล้วงานสำคัญต่อมาคือการจัดหาบุคลากรที่มีความสามารถมาประจำหรือทำงานกับสำนักงาน งานนี้โดยปกติก็ควรละไว้ในแผนกบุคลากรเป็นผู้ดำเนินงาน นอกจากนี้งานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลากรที่สำคัญ คือการจัดการฝึกอบรมให้บุคลากรมีความสามารถที่จะปฏิบัติงานในสำนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.3. ความสำคัญต่อการควบคุมการปฏิบัติงานเมื่อได้วางแผนการปฏิบัติงานในสำนักงาน ตลอดจนมีบุคลากรเข้าทำงานแล้ว งานสำคัญต่อมาคือ การควบคุมให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างราบรื่นและได้ผลดี การควบคุมการปฏิบัติงานที่นิยมใช้กันเป็นปกติคือ การควบคุมให้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อยู่ภายในกรอบวงเงินงบประมาณที่ได้อนุมัติไปแล้ว งานสำนักงานนั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นภารกิจประจำที่ต้องทำซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุดดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่ผิดแปลกไปจากปกติมาก ๆ จึงไม่ปรากฏให้เห็น การควบคุมการปฏิบัติงานจึงไม่ใช่เรื่องยากนักในบางกรณีอาจต้องใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยตัวอย่างเช่น สำนักงานบางแห่งอาจมีปัญหาเรื่องพนักงานใช้โทรศัพท์ทางไกลโดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่ได้จดบันทึกเอาไว้ว่าใครเป็นผู้ใช้โทรศัพท์ดังนั้นองค์การหรือหน่วยงานจึงต้องรับภาระจ่ายเงินส่วนนี้โดยไม่สมควร ปัจจุบันมีองค์การหลายแห่งที่ติดตั้งอุปกรณ์ชุมสายภายในขนาดเล็ก และสามารถกำหนดได้ว่าจะให้โทรศัพท์เครื่องใดสามารถเรียดต่อในระบบทางไกลได้ หากจัดระบบควบคุมให้ดีสามารป้องกันไม่ให้พนักงานมาแอบใช้โทรศัพท์โดยไม่ได้รับอนุญาต การควบคุมการปฏิบัติงานในสำนักงานยังมีอีกมากตั้งแต้การควบคุมพนักงานให้ทำงานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ไม่ทิ้งงานให้คั่งค้าง หรือละเลยไม่ทำตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ การควบคุมการจัดหาอุปกรณ์เครื่องใช้และวัสดุสำนักงาน การควบคุมการเบิกจ่ายวัสดุสำนักงานให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ ไปจนถึงการควบคุมไม้ให้พนักงานหรือบุคลากรภายนอกเข้ามากระทำการให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยงาน ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการควบคุมการปฏิบัติงาน
2.4. ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานในสำนักงานบางแห่งอาจมีปัญหาได้หลายอย่างด้วยกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับบุคคลากรผู้ปฏิบัติงาน ปัญหาที่เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่ไม่มีประสิทธิภาพหรือเกิดความผิดพลาด ปัญหาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ไม่เพียงพอต่อการใช้งานปัญหาในด้านการสื่อสาร ปัญหาเรื่องเอกสารสูญหาย ค้นหาไม่พบ ฯลฯ หัวหน้าสำนักงานหรือผู้บริหารสำนักงานจะต้องคอยสังเกตปัญหาเหลี้และหาทางขจัดปัดเป่าไม่ไห้ให้เกิดขึ้น หรือมิฉะนั้นก็ ต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้หมดไปโดยไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อองค์การ อาจกล่าวได้ว่าการแก้ปัญหาต่าง ๆจะต้องแก้ที่ระบบของข้อมูล และนำมาวิเคราะห์ให้เป็นไปตามเอกสารหลักฐานที่เป็นจริง
2.5. ความสำคัญต่อการสร้างขวัญและกำลังใจพนักงานในบริษัทหรือองค์กรนั้นเกิดความภาคภูมิใจ ที่สำนักงานของตนเองทันสมัยสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว ผู้บริหารมีข้อมูลหลักฐานในการตัดสินใจพนักงานมีความพึงพอใจในการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
2.6. ความสำคัญต่อการอำนวยการการปฏิบัติงานหลายอย่างในสำนักงานจำเป็นจะต้องระดมบุคลากรมาร่วมกันทำงานอย่างเข้มแข็งและบางครั้งเป็นงานที่นอกเหนือหน้าที่ตามปกติ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การจัดประชุมภายในและการจัดประชุมขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนมาก ทั้งจากภายในและภายนอกหน่วยงาน การจัดประชุมภายในอาจเกิดขึ้นได้จากการที่หน่วยงานได้แต่งตั้งให้มีหน่วยงานการจัด สัมมนาวิชาการเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีหน่วยงานผู้อื่นรับทราบ หรือเพื่อเป็นการเสนอความคิด หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ หน่วยงานส่วนใหญ่ไม่ได้มีแผนกหรือบุคคลากรที่ทำหน้าที่จัดประชุมโดยตรง ดังนั้นจึงต้องอาศัยบุคลากรอื่น ๆ ในสำนักงานมาช่วยกันจัดการประชุมและจำเป็นจะต้องกำหนอกรายละเอียดการจัดประชุมให้ครบถ้วนเพื่อให้การจัดประชุมสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
2.7. ชื่อเสียงของบริษัทหรือหน่วยงานเมื่อลูกค้าเข้ามาใช้บริการ ในองค์กรนั้น การบริการสามารถทำได้โดยสะดวกและรวดเร็วเป็นข้อมูลที่ถูกต้องจะทำให้ผู้มาใช้บริการยกย่องชมเชย ซึ่งไม่จำเป็นต้องประชาสัมพันธ์


3. วัตถุประสงค์ของการจัดสำนักงานอัตโนมัติการจัดทำระบบสำนักงานอัตโนมัติจำเป็นต้องใช้เวลา ทรัพยากรมากมายแต่หลายหน่วยงานก็มีความคาดหวังที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็นสำนักงานอัตโนมัติทั้งนี้เพื่อประโยชน์ดังนี้
3.1. เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของสำนักงานให้มีความสะดวกเป็นระบบต่อเนื่อง มีรูปแบบชัดเจนเป็นมาตรฐานสากล
3.2. ช่วยลดเวลาการจัดการงานในสำนักงานลง
3.3. ช่วยลดค่าใช้จ่ายการปฏิบัติงาน สำนักงานลงในด้านแรงงาน เครื่องมือ สถานที่จัดเก็บเอกสาร
3.4. เพิ่มความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และการบูรณาการข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงได้ไม่คงที่
3.5. เพิ่มโอกาสในการแข่งขันกับคู่แข่ง
3.6. ปรับปรุงวิธีปฏิบัติสำนักงาน
เป็นแบบโลกาวิวัฒน์หรือสำนักงานแบบเทียม (Virtual office)

4. กลยุทธ์และวงจรในการพัฒนาระบบสำนักงานอัตโนมัติขั้นตอนในการพัฒนาระบบสำนักงานอัตโนมัติ จะมีขั้นตอนคล้ายคลึงกับการพัฒนาระบบสาระสนเทศดังนี้
4.1. จัดสร้างแผนความต้องการข่าวสารขององค์กรในทุก ๆ ระดับ ได้แก่ TPS, MIS, DSS, และ EIS ระบุความจำเป็นเร่งด่วนและลำดับการจัดสร้างเรียกดู แก้ไข ลบทิ้งของสาระสนเทศแต่ละฉบับ
4.2. จัดเตรียมแผนแม่บทให้สมบูรณ์ขึ้น โดยการกำหนดระยะเวลาข่าวสารที่จะต้องพัฒนาผู้รับผิดชอบ งบประมาณ และเป้าหมายในแต่ละขั้นตอน
4.3.จัดทำตาราง/ความเกี่ยวข้องข้อมูลและ/กิจกรรม ( Function งานต่าง ๆ ) ทั้งหมดของทุก ๆ ระบบงาน (ตามแผนแม่บทพัฒนาสารสนเทศ) ขั้นตอนนี้เป็นตอนการศึกษาภาพรวมของเชิงตรรกของ ระบบงานที่พึงประสงค์ (purpose logical model) ซึ่งจะแสดงออกมาโดย ER Diagram OO Diagram , Soft-wareHardware และ people ware specification
4.4. ตัดแบ่งผังงานออกเป็นผังงานแบบย่อม ๆ ในแต่ละผังงานย่อม ๆ หากยังมีระบบงานย่อยอีกให้เริ่มพัฒนาระบบงานย่อยที่จุดสร้าง เป็นข้อมูลอันดับต้น ส่วยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงข้อมูลจะพัฒนาในอันดับรองต่อ ๆ ไป
4.5. ทำการปรังปรุงแผนแม่บทสาระสนเทศให้เหมาะสมเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติทั้งในด้านระยะเวลา ระบบข่าวสารที่ต้องพัฒนา เวลา ผู้รับผิดชอบ และทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
4.6. จัดเตรียมทรัพยากร บุคคล เครื่องมือ สถานที่ งบประมาณ ผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ ห้พร้อมที่จะตอบสนองการทำงานพัฒนาระบบข่าวสาร
4.7. ดำเนินการพัฒนาระบบข่าวสารฝึกอบรมบุคลากร จัดเตรียมอุปกรณ์ สถานที่ พัฒนาทดสอบแก้ไขโปรแกรม
4.8. ปรับปรุงแก้ไขระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน
4.9. พิจารณาปรับเปลี่ยนระบบงานเก่าสู่ระบบงานใหม่
4.10. ประเมินผลการปฏิบัติงาน

4.11. ยุติระบบงานสาระสนเทศระยะนั้น ๆ พร้อมรายงานตัวผู้บริหารในหน่วยงานนั้น ๆ ด้วย
4.12. พิจารณา ดำเนินการพัฒนาระบบข่าวสารระยะต่อไป
4.13. เมื่อสิ้นสุดทุก ๆ ระบบ ข่าวสารตามแผนงาแล้ว ให้บันทึกสรุปผลการดำเนินงาน
4.14. ปรับปรุงและบำรุงรักษาระบบข่าวสารต่าง ๆ
4.15. ประเมินผลค่าใช้จ่าย ผลประโยชน์ ประสอทธิภาพของระบบข่าวสารทุก ๆ ระยะ


5. ปัญหาของการพัฒนาระบบสำนักงานอัตโนมัติการพัฒนาระบบสำนักงานอัตโนมัติจะประสบปัญหา ในหลายเรื่องจากต้องใช้เทคนิควิธีหลากหลายในการพัฒนาและใช้งานร่วมกันแบบผสมผสาน
5.1. การจัดซื้อซอฟแวร์ ในการพัฒนาระบบสำนักงานอัตโนมัติอาจใช้วิธีการพัฒนาขึ้นเองในทุก ๆ เรื่อง
5.2. ความต้องการของหน่วยงานเปลี่ยนแปลงไป มีการเพิ่มหรือลดก่อนที่ได้กำหนดไว้ในแผนแม่บทสารสนเทศ
5.3. การเปลี่ยนทางด้านวิทยาการเทคโนโลยี ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องมีอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
5.4. ยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานสากลในการเชื่อมต่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
5.5. ความสามารถในการบีบอัด แฟ้มข้อมูลภาพ และเสียงยังไม่มีประสิทธิภาพยังคงใช้เนื้อที่จัดเก็บสูง
5.6. ระบบสำนักงานอัตโนมัติจำเป็นต้องใช้ระบบสื่อสารข้อมูลซึ่งหากต้องการประสิทธิภาพ หมายถึง ซึ่งค่าใช้จ่ายซึ่งสูงขึ้นและยากต่อการควบคุมยิ่งขึ้น
5.7. การสังเคราะห์เสียงจากข้อความตัวอักษรในแฟ้มข้อมูล ยังขาดความถูกต้องและสมบูรณ์พอโดยเฉพาะภาษาไทย
5.8. การวิเคราะห์ตัวอักษรไทย ยังอยู่ในระยะการพัฒนาอัลกอลิทึมให้สามารถเข้าใจตัวอักษรไทยได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
5.9. ความแตกต่างองระบบซอฟต์แวร์ประยุกต์และซอฟต์แวร์ปฏิบัติการแต่ละภาษา
จะมีรายละเอียดปลีกย่อยข้อมูล หน่วยความจำ หรือแม้แต่ฮาร์ดแวร์พิเศษแตกต่างกันไป

6. ข้อมูลเสนอแนะในการพัฒนาระบบสำนักงานอัตโนมัติจากข้อปัญหาที่มักจะพบในการพิจารณาระบบสำนักงานอัตโนมัติเพื่อแบ่งเบาปัญหาข้างต้นจึงมีแนวทางดังนี้
6.1. เลือกซื้อซอฟต์แวร์หรือพัฒนาซอฟต์แวร์ซึ่งสมารถใช้งานได้บนระบบซอฟต์แวร์ปฏิบัติ
6.2. ค่าใช้จ่ายของซอฟต์แวร์ที่จะพัฒนาจะต้องเสียค่าใช้จ่ายซอฟต์แวร์ควบคุม หรือไม่เนื่องจากหน่วยปฏิบัติการอาจมีหลายจุดติดต่อ
6.3. การมีเทคนิค/โปรแกรม
ช่วยการพัฒนาระบบงาน เพื่อช่วยในการสร้างต้นแบบระบบสำนักงานอัตโนมัติ

7. สรุปข้อดีและข้อเสียของระบบสำนักงานอัตโนมัติในการจัดทำระบบสำนักงานอัตโนมัติจะมีทั้งผลดีและผลเสีย ซึ่งผู้บริหารจะต้องพิจารณาผลประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อตัดสินใจดำเนินการพัฒนาระบบสำนักงานอัตโนมัติ และจะต้องพยายามตระหนักถึงปัญหาและหนทางแก้ไขไว้ล่วงหน้า
ข้อดี
- ประหยัดสถานที่จัดเก็บเอกสาร
- เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ในการจัดเก็บ รวบรวมค้นคว้าข้อมูล
- ลดขั้นตอน/เจ้าหน้าที่ในการจัดการสืบค้นสำเนา เอกสาร
- ลดภาระในการเดินทาง
- ลดปัญหาการจัดทำ จัดเก็บ เอกสารซ้ำซ้อน
- สามารถช่วยในการตรวจสอบ ติดตาม สั่งงาน ได้สะดวกรวดเร็ว
- ป้องกันการทุจริต
- ช่วยสอบทานเอกสาร
- ได้ข้อมูลรวดเร็ว
- ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องมากขึ้น
- เพิ่มประสิทธิภาพด้านการติดต่อสื่อสาร
ข้อเสีย
- การพัฒนาระบบสำนักงานอัตโนมัติต้องเกี่ยวข้องกับบุคคล/หน่วยงาน และฝ่ายการประสานงานประสานข้อมูล โดยส่วนรวมค่อนข้างยากและใช้เวลานาน
- การพัฒนาระบบต้องใช้เวลาอันยาวนาน
- ต้องใช้เงิน งบประมาณ อย่างต่อเนื่องและยาวนาน
- ข้อมูลบางส่วนกระจายไปอยู่ที่หน่วยงานต่าง ๆ เป็นเป้าหมายต่อการโจมตีเพื่อล้วงความลับ
- ระบบการทำงานในระบบสำนักงานอัตโนมัติ จะเปลี่ยนวิถีการปฏิบัติงานไปสู่วิธีการใหม่อาจต้องมีการฝึกอบรมความรู้บุคคลากรเปลี่ยนตำแหน่งงานต้องใช้เวลาในการนำเสนอเพื่อให้บุคคลากรยอมรับนานยิ่งขึ้น

สรุปหลัการพิจารณาและการตัดสินใจในกานนำระบบสำนักงานอัตโนมัติเข้ามาใช้

สำนักงานอัตโนมัติ (Office automation) เรียกย่อว่า OA มาใช้ในการจัดการสำนักงานนั้นเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสำนักงานให้สูงขึ้น เพราะปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีบทบาทเป็นอย่างมากในการช่วยให้การจัดการของสำนักงานง่ายขึ้น

สาเหตุที่ทำให้เรื่องสำนักงานอัตโนมัติเป็นที่สนใจอย่างกว้างขว้างและสำคัญขึ้นเรื่อยๆคือ
1. ลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานในสำนักงาน ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ไม่ต้องจ่ายพนักงานมากขึ้นเพราะสำนักงานอัตโนมัติมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
2. เพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจให้ก้าวหน้ามากขึ้นเนื่องจากมีการแข่งขันกันสูงในด้านของมูลและการติดต่อสื่อสาร พร้อมทั้งยังสื่อสารได้ไกลและกว้างขึ้น
3. เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์เจริญก้าวหน้ามากขึ้นและราคาถูกลง
4. ได้ข้อมูลที่รวดเร็วทันกับความต้องการ ระบบงานอัตโนมัตินี้จะช่วยลดข้อผิดพลาดทางด้านข้อมูล

วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการจัดการอัตโนมัติ คือ
1. ต้องการความสะดวก
2. ต้องการสั่งผ่านสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง
3. เพื่อลดปริมาณคนงาน และปริมาณงานทางด้านสารสนเทศลง
4. ต้องการความยืดหยุ่น
5. เพื่อที่จะสามารถขยายงานต่อไปได้ในอนาคต

*แต่ถึงจะมีประโยชน์และเป็นที่ต้องการของสำนักงานแล้วก็ยังมีอุปสรรคคือเรื่องความคุ้มค่าของการลงทุน เพราะว่าระบบสำนักงานอัตโนมัตินั้นต้องมีการ ลงทุนสูงมากจึงต้องนำมาคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับสำนักงานนั้นๆๆว่าจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่